เกษตรทฤษฎีใหม่
ความเป็นมา
ปัญหาหลักของเกษตรกรในอดีตจนถึงปัจจุบันที่สำคัญประการหนึ่ง
คือ
การขาดแคลนน้ำเพื่อเกษตรกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่อาศัยน้ำฝน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศที่อยู่ในเขตที่มีฝนค่อนข้างน้อยและส่วนมากเป็นนาข้าวและพืชไร่
เกษตรกรยังคงทำการเพาะปลูกได้ปีละครั้งในช่วงฤดูฝนเท่านั้น
และมีความเสี่ยงกับความเสียหายอันเนื่องมาจากความแปรปรวนของดิน ฟ้า อากาศ
และฝนทิ้งช่วง แม้ว่าจะมีการขุดบ่อหรือสระเก็บน้ำไว้ใช้บ้างแต่ก็ไม่มีขนาดแน่นอน
หรือมีปัจจัยอื่นๆ
ที่เป็นปัญหาให้มีน้ำใช้ไม่เพียงพอรวมทั้งระบบการปลูกพืชไม่มีหลักเกณฑ์ใดๆ
และส่วนใหญ่ปลูกพืชชนิดเดียว
ด้วยเหตุนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระราชทานพระราชดำริเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบากดังกล่าวให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤต
โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนักพระราชดำรินี้
ทรงเรียกว่าทฤษฎีใหม่ อันเป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด
หลักการสำคัญของทฤษฎีใหม่
การบริหารจัดการทรัพยากรโดยเฉพาะดินและน้ำที่อยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เพื่อให้การสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างพอเพียง
โดยเน้นการพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด
เหตุเรียกว่า "ทฤษฎีใหม่"
1.มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินขนาดเล็กออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจนเพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร
2.มีการคำนวณโดยหลักวิชาการ
เกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะเก็บกักให้เพียงพอต่อการเพาะปลูกได้อย่างเหมาะสมตลอดปี
3.มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ
ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนของทฤษฎีใหม่ การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ มี 3 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 เป็นการผลิตแบบพึ่งตนเองด้วยวิธีง่ายๆ
ค่อยเป็นค่อยไปตามกำลังพอมีพอกินไม่อดอยาก
ขั้นที่ 2 เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ ร่วมแรงในเรื่องของการผลิต การตลาด การเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา สังคม
และศาสนา
ขั้นที่ 3 ร่วมมือกับแหล่งเงินและพลังงาน
ตั้งและบริการโรงสี ตั้งและบริการร้านสหกรณ์ ช่วยกันลงทุน ช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท
ซึ่งมิใช่ทำอาชีพเกษตรเพียงอย่างเดียว
-ขั้นที่ 1 เป็นการสร้างความพอเพียงในระดับครอบครัว
-ขั้นที่ 2 และ 3 เป็นการสร้างความพอเพียงในระดับคุณภาพในระดับชุมชน
การจัดการในทฤษฎีใหม่
การจัดสรรพื้นที่ในการทำเกษตรทฤษฎีขั้นที่ 1 ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญแบ่งออกเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่อาศัยน้ำฝน
และเกษตรทฤษฎีใหม่อาศัยน้ำชลประทาน (เติมน้ำได้)

เกษตรทฤษฎีใหม่อาศัยน้ำฝน
การจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน
แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ตามสัดส่วน 30 : 30 : 30 : 10
ส่วนที่ 1 สระน้ำ 30 %
ส่วนที่ 2 นาข้าว 30 %
ส่วนที่ 3 พืชสวนพืชไร่ 30 %
ส่วนที่ 4 ที่อยู่อาศัย 10 %
เงื่อนไข
คือมีพื้นที่น้อย (ประมาณ 15 ไร่) อยู่ในเขตเกษตรน้ำฝน ฝนตกไม่ชุก ปลูกข้าวเป็นพืชหลัก
สภาพดินสามารถขุดสระเก็บกักน้ำได้
ฐานะค่อนข้างยากจนมีสมาชิกในครอบครัวปานกลางประมาณ 5-6 และไม่มีอาชีพหรือรายได้อื่นที่ดีกว่าในบริเวณใกล้เคียง
เกษตรทฤษฎีใหม่อาศัยน้ำชลประทาน (เติมน้ำได้)
การทำทฤษฎีใหม่สามารถยืดหยุ่นปรับสัดส่วนการใช้พื้นที่ให้มีความเหมาะสมตามสภาพพื้นที่ เช่น พื้นที่ภาคใต้ที่มีฝนตกชุกกว่าภาคอื่น หรือพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมาเติมได้หรือมีระบบชลประทานเข้าถึงสัดส่วนของสระน้ำอาจเล็กลง
แล้วเพิ่มเติมพื้นที่ปลูกไม้ผล พืชไร่ พืชผักแทน
หลักการดำเนินการของการทำเกษตรทฤษฎีใหม่
โดยหลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงคือ
30 : 30 : 30 : 10 จากใน
100 ส่วนซึ่งก็คือ การแบ่งพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ออกเป็น 4 ส่วน คือ
ส่วนที่หนึ่ง ให้ขุดสระกักเก็บน้ำจำนวน 30 % ของพื้นที่ทั้งหมดเนื่องจากการเกษตรจำเป็นต้องใช้น้ำ
ส่วนที่สอง ให้ปลูกข้าวจำนวน
30 % ของพื้นที่เพราะครอบครัวต้องกินต้องใช้สำหรับเป็นแหล่งอาหาร
ส่วนที่สาม ให้ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น
เก็บดอกผล ไว้กินไว้ขาย เสริมสร้างรายได้ส่วนหนึ่งอีกทาง
ส่วนที่สี่ เป็นพื้นที่สำหรับใช้สร้างสิ่งปลูกสร้างเช่น
ที่อยู่อาศัย โรงเรือน เลี้ยง สัตว์ ฉางจำนวน 10 % ของพื้นที่
จำนวนสัดส่วนของพื้นที่นี้ทั้งหมดสามารถปรับเพิ่มหรือลดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ แต่ละแห่งได้ตามสะดวก
จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานในโอกาสต่างๆ นั้น
พอสรุปประโยชน์ของทฤษฎีใหม่ได้ดังนี้
1.ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับประหยัด
ไม่อดอยากและเลี้ยงตนเองได้ตามหลักปรัชญา “ เศรษฐกิจพอเพียง”
2.ในหน้าแล้งมีน้ำน้อย
ก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระ มาปลูกพืชผักเลี้ยงปลา หรือทำอะไรอื่นๆ
ก็ได้แม้แต่ข้าว ก็ยังปลูกได้ ไม่ต้องเบียดเบียนชลประทานระบบใหญ่เพราะมีของตนเอง
3.ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยตลอดปี
ทฤษฎีใหม่นี้ก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยขึ้นได้ ในกรณีที่เกิดอุทกภัย
ก็สามารถจะฟื้นตัวและช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง
โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากเกินไป อันเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย
4. ในกรณีที่เกิดอุทกภัย
เกษตรกรสามารถที่จะฟื้นตัวและช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากนัก
ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย
แปลงตัวอย่างการทำเกษตรทฤษฎีใหม่

ตัวอย่างคือ
มีที่นาอยู่ที่ 4 ไร่ จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน อาจจะได้ประมาณส่วนละ 1 ไร่
แต่ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ด้วย
หากพื้นที่โดยรอบแห้งแล้วกันดาร
ให้เผื่อเนื้อที่ของการปลูกต้นไม้ยืนต้นและสระเก็บน้ำมากหน่อย
เนื่องจากน้ำเป็นสิ่งจำเป็น และหากมีแต่น้ำแต่ผืนดินไม่ชุ่มชื้นเพราะขาดต้นไม้ให้ร่มเงา
น้ำก็จะขาดแคลน การแบ่งพื้นที่ดังตัวอย่างมีดังนี้
- พื้นที่ส่วนที่ 1 จำนวน 1.2 ไร่ ขุดสระกักเก็บน้ำจำนวน 2 สระ สามารถกักเก็บน้ำได้มาก เพียงพอต่อการนำน้ำมาใช้ในการทำการเกษตรได้ทั้งปีแต่การผันน้ำมาใช้นั้น หากพื้นที่กว้างใหญ่ เช่นมีเนื้อที่ประมาณ 12-13 ไร่ การขุดสระโดยใช้พื้นที่ถึง 3-4 ไร่นั้นยังคงต้องใช้เครื่องจักรกลในการสูบน้ำมาใช้ ทำให้สูญเสียพลังงานเชื้อเพลิงจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ถ้าสามารถลดการใช้พลังงานลงได้ หรือหาพลังงานเชื้อเพลิงอื่นทดแทน หรือมีการวางแผนการใช้น้ำ เช่น หากพื้นที่มีระดับที่ต่างกันมาก สามารถวางท่อนำน้ำออกมาใช้โดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำและน้ำมัน เป็นการจัดการทำให้ต้นทุนการเกษตรลดลงได้ในระยะยาว สำหรับพื้นที่เล็กๆ ประมาณ 1-2 ไร่ สามารถทำเป็นท้องร่องได้โดยกะให้กว้างพอประมาณไม่ให้แคบเกินไปเพราะเนื้อที่แคบน้ำจะขาดแคลน
- พื้นที่ส่วนที่
2 ใช้พื้นที่ 1 ไร่ ใช้ปลูกข้าว
การปลูกข้าวด้วยพื้นที่ 1 ไร่ควรใช้วิธีการดำนา หรือ
การปลูกข้าวต้นเดียว เพราะจะให้ผลผลิตดี ปริมาณมากกว่าการปลูกข้าวแบบหว่านปกติ
เนื่องจากการปักข้าวลงดินเองจะทำให้ข้าวมีผลผลิตดี การเตรียมดิน และปักดำโดยใช้ข้าวจ้าวหอมมะลิ
105 ทำการกำจัดวัชพืชในนาข้าว โดยการถอน และไถกลบ
เริ่มแรกอาจมีการปลูกพืชตระกูลถั่วก่อนเนื่องจากถั่ว เป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย
เจริญเติบโตเร็ว หลังเก็บเกี่ยวสามารถไถกลบและซังพืชจะเป็นปุ๋ยชั้นดีให้นาข้าว
- พื้นที่ส่วนที่
3 มีทั้งหมด 1.5 ไร่ ปลูกพืชแบบผสมผสาน
โดยสามารถปลูกมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ ปลูกกล้วยน้ำว้า ปลูกพืชผัก ปลูกไม้ใช้สอย
เช่น ต้นสัก ต้นไผ่รวก ไผ่ตง หรือ ต้นหวาย
โดยทั้งนี้พื้นที่การปลูกอาจใช้พื้นที่ทั้งหมดที่เหลือโดยพื้นที่สำหรับปลูกสร้างบ้านเรือนก็สามารถปลูกคร่อมพื้นที่ส่วนที่
3 ได้เช่นเดียวกัน
- พื้นที่ส่วนที่
4
นี้มีพื้นที่เหลือประมาณ 3 งาน
สามารถใช้เป็นพื้นที่สำหรับสร้างที่อยู่อาศัยและคอกสัตว์เล็กๆ ใต้ถุนเรือน
หรือผสมผสานในการปลูกบ้านเรือนยกสูงบนสระน้ำ ให้ใต้ถุนเป็นคอกเลี้ยงเป็ดไก่ หมู
ติดกับสระน้ำ โดยในน้ำก็มีการเลี้ยงปลาดุกปลานิลผสมกัน
เป็นแนวทางการเกษตรแบบพึ่งพาอาศัย
แหล่งที่มา
https://sites.google.com/site/doraemoninmyheart/karkestr-thvsdi-him
http://www.chaipat.or.th/2010-06-03-06-17-29.html
https://www.slideshare.net/intrapansuwan/ss-29901482?fbclid=IwAR3FKX4SqtMDD6o1XcSRDkTll5m5fEktv4F1RFt7h8yogGj-CvxeF0uSuqQ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น